วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเป็นวิทยาการที่ดี

คำนำ


  วัตถุประสงค์หลักการจัดทำวิชาเล่มนี้เพื่อใช้เป็นตำราในการปฏิบัติของของ การเป็นวิทยาการที่ดี  อาจจะเป็นโยชน์ สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งพอจะมีพื้นฐานความรู้ ทางด้านสังคมวิทยา และมนุษย์วิทยาบ้าง ในการเตรียมการ  และวิเคราะห์ โครงสร้างสังคม อันประกอบด้วย พฤติกรรม และความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในสังคมไทย สถาบันต่าง ๆ  และวัฒนธรรม  ทั้งที่เป็นประโยชน์ โดยตรง หรือโดยอ้อม  การเป็นวิทยาการนั้น จะต้องสามารถวิเคราะห์ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง มาประกอบ  เพื่อเป็นการเตรียมการ ทั้งข้อมูลที่จะนำเสนอ เทคนิคในการพูด ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการเป็นวิทยาการ
            
วิทยากรเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาหรือทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ  ทักษะความสามารถ และ ทัศนคติ จนมีผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด อันจะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และปัจจัยความสำเร็จประการหนึ่งที่สำคัญยิ่ง
            วิทยากรหรือ
Trainers ที่จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งหลายอย่างมีหลักการที่ดีและเป็นระบบ อันมีผลทำให้ผู้รับการถ่ายทอดมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปตามความต้องการขององค์กรในหลักสูตรนี้ จะเน้นเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการเป็นวิทยากรที่มีคุณภาพ พร้อมที่จะทำหน้าที่ในการเป็นวิทยากรภายในตามที่องค์กรต้องการ
            
ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจด้านการเป็นวิทยากร และหากรายงานฉบับนี้มีข้อผิดพลาดประการใด  ผู้จัดทำ  ขออภัยไว้ ณ ที่นี้


 บทที่  1
บทนำ

กล่าวทั่วไป

              การในพัฒนาบุคคลภาพของวิทยากรถือว่ามีความสำคัญ  เพราะการเป็นวิทยากรนั้นมีความจำเป็นหลาย ๆ   ด้านที่จะต้องใช้พร้อม ๆ กัน    ในการสื่อสาร จำเป็นจะต้องอาศัยทั้งถ้อยคำที่เป็นวัจนภาษา  หรือภาษาที่ไม่เป็นอวัจนภาษา  เพื่อให้เกิดการสัมพันธ์ส่งเสริมกันและกัน ในการสื่อสาร ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจึงจะสัมฤทธิผล
            แนวความคิดในการเป็นวิทยากรที่ดีนั้น จะต้องมีองค์ประกอบหลายด้านมาประกอบกัน จึงจะเกิดความเชื่อถือจากผู้ฟัง ทำให้เกิดความมั่นใจการพูดด้วย ได้แก่ วัยวุฒิ  คุณวุฒิ  บุคลิก ลักษณะท่าทาง ถ้อยคำ น้ำเสียง  การแต่งกาย  ของวิทยากร   และประสบการณ์     เพราะโครงสร้างสังคม และวัฒนธรรมแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ผู้พูด วัยวุฒิยังอ่อน แต่ไปพูดกับกลุ่ม
ผู้อาวุโสกว่าจะเกิด การต่อต้านด้านความคิด ความสนใจลดลง ทำให้ผู้พูดประหม่าได้
            เพราะฉะนั้น วิทยากรจะต้องวิเคราะห์ศึกษาหลาย ๆ ด้านทั้งจุดมุ่งหมาย กาลเทศะ โอกาส บุคคล คุณธรรม จรรยามารยาท วิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง พัฒนาสมรรถภาพการพูดอยู่เสมอ  และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้  เพื่อให้เกิดการยอมรับได้
            ทั้ง ด้านจังหวะ ลีลา  และน้ำเสียง  ทุกอย่างล้วนเป็นส่วนสำคัญของวิทยากรทั้งสิ้น
วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
                   1.เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
                   2.เพื่อให้ได้รับความร่วมมือด้วยความเต็มใจ
                   3. เพื่อให้ผู้รับการติดต่อ  ยินดีให้การสนับสนุนในครั้งนี้  และในโอกาสต่อไป
                   4.เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในหน่วยงาน
                   5.เพื่อช่วยกันสร้างภาพพจน์ที่ดีของหน่วยงาน
                   7.เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ


เรื่องที่  1 ความหมาย  บทบาท  จรรยาบรรณและลักษณะวิทยากรที่ดี

      
ความหมาย บทบาท
            วิทยากร เป็นผู้ใช้ทักษะภาษาที่สำคัญยิ่ง  ที่ใช้ในการพัฒนามนุษย์ควบคู่กับการสร้างความสัมพันธ์ กับคนอื่น  ๆ  นอกจากนี้ก็ยังเป็นวิธีการสื่อสารสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในการพัฒนาบุคลิกภาพหรือพัฒนาหน่วยงาน นั้น ๆ  ได้ด้วย ซึ่งมนุษย์ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เองทั้งหมดทุกเรื่อง แต่ก็สามารถเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เพราะฉะนั้นวิทยากร จึงเข้ามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูล ชี้แนะ ในหน่วยงานต่าง ๆ
           บทบาทวิทยากรจึงถือว่ามีความสำคัญยิ่ง   ที่สามารถพูดให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้  แต่จะทำอย่างไรถึงจะให้ผู้ฟัง ฟังแล้วไม่เบื่อหน่าย    ไม่มีความรู้สึกหงุดหงิด ในขณะเวลาฟัง  ไม่ทำให้เกิดแรงต่อต้าน ทั้งด้านความคิด และคำพูดขณะฟัง  เพราะฉะนั้นวิทยากร จึงต้องสร้างจุดเด่น ในขณะพูด  ทั้งน้ำเสียง  และคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังคล้อยตามไปได้  พยายามทำให้ผู้ฟังเข้ามามีส่วนร่วมในขณะฟัง ให้ผู้ฟังมีส่วนถาม และตอบคำถามในขณะที่
พูด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด แรงต่อต้าน

           
วิทยากรจะต้องสร้างเสน่ห์ให้กับตัวเอง คือ   การแสดงออกถึงความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้เข้ารับการอบรม หรือผู้ฟัง   ให้ความเคารพต่อผู้อาวุโสที่เข้าร่วมรับฟัง และบุคคลต่าง ๆ ที่มาติดต่อด้วย   ซึ่งเสน่ห์ดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ สร้างความสัมพันธ์ อย่างดี และติดตัวของวิทยากร ทำให้ผู้ฟังมีการเอ่ยถึงและอ้างอิงให้กับคนต่อ ๆ ไป เมื่อต้องการหาวิทยากรมาบรรยายในเรื่องนั้น ๆ             
            การสร้างแร้งกระตุ้นต่อผู้ฟัง เป็นปัจจัยประกอบ  เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้ตลอด สามารถจดบันทึกในส่วนสำคัญได้   ให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะคำพูดได้ตลอดเวลา  ส่วนใดคือข้อเท็จจริง ส่วนใดที่เป็นข้อคิดเห็น  ไม่ควรพูดทับศัพท์มากเกินไป หรือควรหลีกเลี่ยง  ได้ยิ่งดี    ไม่ควรพูดเร็ว    หรือช้าเกินไป  การตั้งคำถามในขณะที่พูดไม่ควรเป็นคำพูดที่ตีความหมายได้หลายทาง     หรือคำพูดกำกวม  และไม่ควรเลือกถามเป็นรายบุคคล เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิด ความกังวล  ทำให้ไม่อยากเขามามีส่วนร่วม หรือรับฟัง
            การวิเคราะห์ผู้ฟังขณะพูดถือว่าเป็นส่วนสำคัญ  จะทำให้วิทยากรสามารถปรับปรุงบทบาท ตนเองได้  สีหน้า การแสดงออกของผู้ฟัง การไม่มีส่วนร่วมในการตอบ หรือถามเพราะถ้าพูดอย่างเดียวไม่มีการวิเคราะห์ผู้ฟัง   ทำให้ไม่สามารถพิจารณาบทบาท บุคลิกตัวเองได้   เพราะฉะนั้นวิทยากรจะต้องมีการวิเคราะห์ และพัฒนาคำพูดตัวเองให้ทันต่อเหตุการณ์ เสมอ

      2. จรรยาบรรณ
            
การเป็นวิทยากรที่ดี จะต้องยึดถือจรรยาบรรณ   คำพูด หรือการแสดงออกนั้น คำพูดวิทยากรนั้นให้ทั้งคุณ และโทษในเวลาเดียวกัน ถ้าไม่รู้กาลเทศะ  หรือ คุณธรรมในการใช้คำพูด  รู้สิ่งใดควรพูด  หรือไม่ควรพูด  สิ่งใดควรเว้น หรือไม่ควร   คำพูดต้องพูดชัดถ้อยชัดคำ ต้องดูโอกาสเวลาที่เหมาะกับคำพูด จรรยาบรรณวิทยากร  ซึ่งรวมถึง ความประพฤติ การปฏิบัติตน ทั้งด้านความคิด และ การกระทำ  ให้เกียรติผู้ฟัง  พร้อมรับฟังข้อเสนอ ในเวลาเดียวกัน เมื่อมีข้อซักถาม ข้อสงสัย
            สิ่งที่วิทยากรไม่ควรนำมาพูด  คือ ความสำคัญภูมิหลังผู้ฟัง  เรื่องส่วนตัวของคนอื่น หรือหยิบยกเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาประกอบอ้าง
      3. ลักษณะวิทยากรที่ดี   จะต้องการเตรียมการอย่างดีในการศึกษาข้อมูล  จากทุกอย่าง พร้อมศึกษาข้อมูลหลาย ๆ  มารวมกัน ในการที่จะพูดเรื่องนั้นลักษณะวิทยากรที่ดีมี ดังนี้
            1. ต้องเตรียมเนื้อหาที่จะพูดหรืออบรมให้พร้อม
            2. มีความเป็นกันเอง พร้อมช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องที่อบรม
            3. เป็นคนช่างสังเกต ดูพฤติกรรมของผู้เข้าอบรม และสามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาหรือวิธีการอบรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
            4. มีความกระตือรือร้น คล่องแคล่ว และยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
            5. มีความมั่นใจในการพูด และเชื่อมั่นในตนเอง
            6. พูดจาชัดเจน ใช้ภาษาถูกต้อง และมีอารมณ์ขัน เพื่อสร้างบรรยากาศให้ไม่น่าเบื่อ
            7
แต่งกายให้สะอาด เหมาะกับเวลา และสถานที่   (หลักการใช้ภาษาไทย มหาวิทยาลัยสุโขธรรมาธิราช  หน้า : 201-305)
         สรุป    วิทยากร เป็นผู้ใช้ทักษะภาษาที่สำคัญยิ่งที่ใช้ในการพัฒนามนุษย์ควบคู่กับการสร้างความสัมพันธ์ กับคนอื่น  ๆ  นอกจากนี้ก็ยังเป็นวิธีการสื่อสารสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน การเป็นวิทยากรที่ดี จะต้องยึดถือจรรยาบรรณ   คำพูด หรือการแสดงออกนั้น คำพูดวิทยากรนั้นให้ทั้งคุณ และโทษในเวลาเดียวกัน

 เรื่องที่ 2   การวิเคราะห์ระบบและองค์ประกอบของการสื่อสาร
         1 การวิเคราะห์ระบบ  หมายถึง  วิธีการจัดระเบียบ และจำแนกลำดับขั้นตอนในการสร้างความสัมพันธ์ต่อการบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์  ทั้งเป็นการเพิ่มทักษะให้สูงขึ้นเพราะฉะนั้น ผู้พูด จะต้องให้ความสำคัญ ผู้เข้ารับการอบรม ในฐานะที่เป็นผู้รับสารจากผู้พูด  
ว่ารับข้อมูลมากน้อยเพียงใด ถ้าผู้พูดรู้จักผู้ฟังมากเพียงใดย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพของผู้พูดมากขึ้น เพียงนั้น  Heinich : The Assure Model  ได้กล่าวถูกรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ เมื่อมีการวางแผนอย่างรัดกุม   ในการใช้สื่อการสอนที่เป็นระบบเช่นเดียวกัน  และเป็นขั้นตอนสอดคล้องกับเหตุการณ์  ดังนั้นAssure  Model  จะเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนที่สร้างความมั่นใจ สำหรับการเป็นวิทยากร ซึ่งประกอบด้วย
                       
    ( ภาพ อ.รุ่งโรจน์ พงศ์กิจวิทูร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  http://www.nrru.ac.th/)
            
A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้นและความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน
        
 1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม
             2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด
 การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอน สามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
             S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENTการกำหนดจุดมุ่งหมาย การเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ
        
1. วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น
           
 2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร)   การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียน ควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษวาด หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน เป็นต้น
        
3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่นระดับของความสามารถในการปฏิบัติ ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไป
             S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ
        
1. การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
            
2. ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว
              3.
การออกแบบสื่อใหม่
         
U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้  3 ลักษณะคือ
        
 1. การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย
         
2. การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง
         
3. การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด
       
R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนอง และมีการเสริมแรง สำหรับการพฤติกรรมการตอบสนองที่ถูกต้องอยู่เสมอ เช่น การให้สังเกตไปจนถึงการให้ทำโครงการหรือออกแบบสิ่งของต่าง ๆ การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบ สนองของผู้เรียน จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนและการเสริมแรงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
         E = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ
           
1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
            
2. การประเมินสื่อและวิธีใช้
        
   3. การประเมินกระบวนการเรียนการสอน
             การวิเคราะห์ระบบ  หมายถึง การศึกษาลักษณะและพฤติกรรมของสรรพสิ่งในระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ  การรวมกลุ่มขององค์ประกอบ (ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม)
              -
ชนิดหรือความหลากหลาย (Species diversity)
              -
ปริมาณของแต่ละชนิด (Number of each species)
              -
สัดส่วนระหว่างชนิด (Proportion among species)
              - 
การกระจายของแต่ละชนิด (Distribution of each species)
 



FEED BACK
 

 
             
            ( ภาพ โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์  การวิเคราะห์ระบบ และออกแบบ ฉบับปรับปรุง)
          การวิเคราะห์ถือเป็นสิ่งสำคัญของการเป็นนักวิทยากร การวิเคราะห์แบ่งออก ๓ ระยะ
คือ ระยะก่อนพูด  ระยะกำลังพูด และ หลังพูด    ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ทำผู้พูดสามารถทราบได้ว่า ผู้ฟังมีความรู้ในเนื้อหามากน้อยเพียงใด เข้าใจ เนื้อหาเพียงใด หลังจากเข้ารับการอบรมหรือฟังไปแล้วมีความเข้าใจ เนื้อหาเพียงใด

              
INPUT การวิเคราะห์ระยะก่อนพูด  ช่วยให้ผู้พูดสามารถเตรียมการพูดได้อย่างดี  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องของผู้เข้ารับการอบรม ที่วิทยากรควรจะทราบ  ได้แก่ วัย เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ของผู้ฟัง  จำนวนผู้เข้ารับฟัง  อาชีพ และกลุ่มสังคม วัฒนธรรม ทัศนคติ ความเชื่อ
 และความคาดหวังของผู้ฟัง
  แม้ว่าการวิเคราะห์ผู้ฟังมาก่อนแล้วก็ตาม    สิ่งที่ไม่ควรลืม ของวิทยากรคือการเตรียมคำพูดที่ต้องตอบ ทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วย  เพราะบางครั้งแม้ว่าจะวิเคราะห์ผู้ฟังเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม  แต่ถึงเวลาบรรยากาศ อาจไม่ดึงดูดความสนใจผู้เข้ารับการฟังได้
               PROCESS การวิเคราะห์ระยะกำลังพูด   เมื่อเริ่มพูดแล้วผู้พูดจะต้องสังเกต และประเมินผู้ฟังไปในตัวว่าผู้เข้ารับการอบรม       มีลักษณะเป็นอย่างไร มีความสนใจ และคาดหวัง การพูดครั้งนี้อย่างไรถ้าเคยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังมาก่อนบ้างแล้ว ยิ่งทำให้สามารถประเมินได้ดี
            สำหรับวิทยากรพึ่งหัดพูดอาจจะรู้สึกประหม่าตื่นเต้นได้   ไม่ทราบว่าจะวางตัวอย่างไร
ถึงจะเหมาะสมได้ เพราะฉะนั้นนักวิทยากรควร    แสดงความมั่นใจในตนเอง ด้วยการยิ้มแย้มให้กับทุกคนตลอดเวลา เพื่อลดความประหม่า  เมื่อเริ่มพูดควรเปิดใจกว้าง มีความรู้สึกดีกับผู้เข้ารับการอบรม จากนั้นเริ่มสังเกต สีหน้า ปฎิกิริยาโต้ตอบจากผู้เข้ารับการอบรมวิทยากรควรพูดท่าทีที่อ่อนโยน และใช้คำสุภาพ  ไม่ควรพูดคำพูดที่เป็นกันเองมากเกินไป  เพราะบางคนอาจไม่ยอมรับได้
            สิ่งที่ช่วยให้ผู้ที่ฝึกเป็นวิทยากรสามารถวิเคราะห์ผู้ฟังได้ในขณะกำลังพูด มีดังนี้.
             
1. สีหน้าของผู้ฟัง  ว่า ยิ้มแย้มแจ่มใสด้วยหรือไม่  หรือชวนขับขันยินดีด้วยหรือไม่
             
2. ปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ฟัง  เช่น ตั้งใจฟัง ตบมือ แสดงความพอใจ เกิดการซักถาม
กันเอง แสดงความคิดเห็น ขัดแย้ง  สนับสนุน หรือตั้งคำถามวัดความรู้ผู้พูด
             
3.บรรยากาศ เช่น ต้องการโน้มน้าวใจให้ตระหนักถึงเรื่องสำคัญ   ไม่ควรให้บรรยากาศตึงเครียด
 
            OUTPUT การวิเคราะห์ระยะหลังการพูด   เมื่อเสร็จสิ้นการพูดทุกครั้ง  แต่ละช่วง ควรสรุปข้อมูลการพูด ให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบอีกครั้ง และสอบถาม ว่าที่พูดแต่ละช่วงมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด 
       
    สิ่งที่ควรพิจารณาภายหลังการพูดเกี่ยวกับผู้ฟัง มีดังนี้.-
               
1.ปฏิกิริยาของผู้ฟัง   หลังพูดเสร็จลงผู้ ฟังมีท่าทีอย่างไร พอใจ สนใจมากน้อยเพียงใดผู้พูด ต้องใจกว้าง ยอมรับปฏิกิริยาในทุกลักษณะ ของผู้ฟัง
              
2. คำวิจารณ์ของผู้ฟัง  ผู้ฟังมีความรู้สึกอย่างไร  อาจเข้าใจ พร้อมทั้งให้คำแนะนำ และความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อเป็นข้อมูลปรับปรุงการพูดครั้งต่อไป
              
3. กาทดสอบผู้ฟัง  ต้องใช้วิธีแบบง่าย ๆ  ไม่ซับซ้อนมากเกินไป อาจจะอยู่ในรูปของเกมส์

 หรือกิจกรรมร่วม เพื่อให้สนุกสนาน เพื่อให้ทราบถึงความเข้าใจเนื้อหา ไม่ควรถามเป็นรายบุคคล
               
4. การติดตามผลในระยะยาว  การที่พูดไปนั้นเป็นผลงานชนิดใด ผู้ฟังสามารถนำไปปฏิบัติตามได้หรือไม่ ผลเป็นประการใด หรือทัศนคติผู้เข้ารับการอบรมเปลี่ยนไปหรือไม่
          ประโยชน์ที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้ฟังอย่างเป็นระบบ
              
1. ช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น
              
2. สามารถเตรียมตัวพูดได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟัง
              
3. ข้อมูลในการเลือกวิธีพูดที่เหมาะสมกับการพูดในแต่ละครั้ง
              
4. ช่วยให้เตรียมตัวพูดอย่างมีระบบมากขึ้น มีผลต่อการพัฒนาตนเอง
               5 .ช่วยเตรียมพร้อมในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
               6. ช่วยให้สามรถคาดการณ์บรรยากาศในการพูดล่วงหน้าได้
              FEED BACK การประเมินผลการพูด  หรือ บางครั้งอาจเรียกว่าการวิจารณ์การพูด คือ การพิจารณาตัดสิน   เพื่อให้ทราบว่าผู้พูดพูดได้ดีมากน้อยเพียงใด และมีสิ่งใด ที่เป็น ข้อ บกพร่อง สมควรแก้ไขปรับปรุง ซึ่งปฏิกิริยาตอบกลับ (Feed back)  ของผู้ฟังทั้ง ทางวัจนภาษา เช่น การติชม เสนอแนะ วิจารณ์ และ อวัจนภาษา เช่น การปรบมือ พยักหน้า ส่วยหน้า เบ้ปาก ต่างก็เป็นการบอกให้ผู้พูดทราบถึงผล สัมฤทธิ์ในการพูดของตน     โดยผู้พูดต้องนำเอาผลการประเมิน       หรือคำวิจารณ์เหล่านั้นมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการพูดของตนในโอกาสต่อไปให้ดียิ่งขึ้น หรือถ้าสิ่งใดที่ดีหรือเหมาะสมอยู่แล้ว ก็อาจคงความเหมาะสมนั้นไว้หรืออาจจะพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีกก็ได้  ในขณะเดียวกันผู้ประเมินผลการพูดก็จะได้สร้างเสริม และฝึกทักษะในด้านการฟังและการวิเคราะห์เนื้อหาสาระไปด้วย เพราะในการประเมินผลนั้น ผู้ประเมินผล จะต้องรู้จักการฟังอย่างตั้งใจ รู้จักการใช้วิจารณญาณในการ ฟัง       และรู้จักวิจารณ์อย่างมีความรู้และมีหลักเกณฑ์ ดังนั้นการประเมินผลการพูด จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ทั้งกับตัวผู้พูดและตัวผู้ฟัง
   
วัตถุประสงค์หลักของการประเมินผลการพูด
         1. เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงข้อดีและข้อบกพร่องของการพูด
            2. เพื่อให้ผู้พูดเข้าใจถึงข้อบกพร่องในการพูดของตน แล้วนำไปพิจารณาเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการพุดของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
            3. เพื่อฝึกผู้พูดให้มีจิตใจเข้มแข็ง ยอมรับความคิดเห็น และคำวิจารณ์ของผู้อื่น
        2. องค์ประกอบของการสื่อสาร
               1. ความหมายของการสื่อสาร
        
      2. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร และกระบวนการสื่อสาร
        การสื่อสาร คือ กิจกรรมที่เป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างฝ่ายส่งสารและฝ่ายรับสาร ซึ่งกระทำเป็นกระบวนการ เริ่มจากการกำหนดสารแล้วส่งออกไป โดยอาศัยสื่อเป็นพาหนะพาสารนั้น ไปยังฝ่ายรับสาร   ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฝ่ายรับสารเข้าใจความหมายในสารและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็น     เครื่องชี้วัดว่า มีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ"
           1. ความหมายของการสื่อสาร
               ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ความหมายของการสื่อสารแบบต่อหน้า (แบบแรก) และแบบไม่เห็นหน้ากัน (แบบหลัง) ระหว่างฝ่ายส่งสารและฝ่ายรับสาร แตกต่างกัน คือ
               1
.ระยะทาง
               2. เวลา
               3.โอกาส
               4. ปริมาณของสาร
               5. ความสลับซับซ้อนของสาร หรือ การเข้ารหัสการถอดรหัส และ
               6. คุณภาพของพาหนะ
               ด้วยระยะทางที่ห่างไกล ทำให้การติดต่อปฏิสัมพันธ์กันระหว่างฝ่ายส่งสารกับฝ่ายรับสาร ไม่สามารถกระทำซึ่งหน้ากันได้ นอกจากนี้    ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการเดินทางของสารอีกด้วย การปล่อยเวลาให้ยืดนานออกไป        อาจทำให้การสื่อสารเข้าใจกันได้ดีขึ้น มีเวลาที่จะทบทวนในการเข้ารหัสและถอดรหัสกันได้   รวมทั้งมีโอกาสในการเลือกเวลาในการสื่อสารกันได้     ยิ่งในการส่งสารคราวละปริมาณมากๆ และสารนั้นมีความสลับซับซ้อน ยิ่งจะทำให้เกิดอุปสรรคในการถ่ายทอดความหมาย การมองเห็นหน้ากัน จะช่วยให้เกิดการทบทวนในการสื่อความหมายกันได้ดีกว่า    ตัวแปรสุดท้ายที่จะมองข้ามไปไม่ได้คือ คุณภาพของพาหนะที่ส่งสารไป อาจมีสิ่งรบกวนระหว่างส่งสาร ทำให้เกิดการแปลความหมายที่ผิดเพี้ยนไปได้ ดังนั้น การติดต่อกันแบบซึ่งหน้าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้    สังคมมนุษย์ในปัจจุบัน มีความสลับซับซ้อนสูงขึ้น รวมทั้งปริมาณของข่าวสารมีปริมาณมากเกินขีดความสามารถในการรับรู้ของคน ดังนั้น   
 โอกาสในการติดต่อสื่อสารกันแบบซึ่งหน้าจึงไม่สามารถกระทำได้ ในทุก ๆ โอกาส ยิ่งในยุคโลกไร้พรมแดน (Globalization) ด้วยแล้ว        จำเป็นต้องยอมรับตัวแปรที่ทำให้การสื่อสาร มีความแตกต่างกัน   กล่าวคือ ระยะทาง   เวลา โอกาส ปริมาณของสาร ความซับซ้อนของสาร    และ คุณภาพของช่องทางในการสื่อสาร        ดังนั้น การให้ความหมายของการสื่อสารจึงเปลี่ยนไปมีความหมายกว้างขวางไปจากเดิม นั่นคือ   คำว่า Communication ไม่ใช่เพียงการสื่อสารกันแบบต่อหน้าอีกต่อไป แต่จะหมายถึง การสื่อสารแบบไม่ต้องเห็นหน้ากัน เรียกว่า การสื่อสารมวลชน     ( Mass Media Communication ) หรือ การสื่อสารทางไกล (Telecommunication) การสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น
            1. ระดับกลุ่มบุคคล
            2.
ระดับองค์กร อาจเป็นองค์กรขนาดเล็ก กลาง หรือขนาดใหญ่
            3.
ระดับมวลชน
            4.
ระดับประเทศ หรือ การสื่อสารระหว่างประเทศ
            เพื่อให้ความหมายของการสื่อสารสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้คือปัจจัยส่งเสริมให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพ ได้แก่ องค์ประกอบต่าง ๆ ของกระบวนการสื่อสารซึ่งประกอบด้วย
            1. ปัจจัยของผู้ส่งสาร และผู้รับสาร 
            2. ปัจจัยของสาร 
            3. ปัจจัยของสื่อ
           1.ปัจจัยของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารเปลี่ยนแปลง ได้แก่
          
    1.1 ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skill ) ประกอบด้วย
                 1.1.1 ทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน หรือทักษะในการใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์ เป็น
เครื่องมือ (Tool) ในการถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิดของตนให้ผู้อื่น (ผู้รับสาร) เข้าใจ
                 1.1.2 ทักษะในการเข้ารหัส และถอดรหัส
                 1.1.3 ทักษะในการคิดหรือใช้เหตุผล
                 1.1.4 ทักษะในการใช้เครื่องมือสื่อสาร  ได้แก่   ทักษะในการใช้ภาษา สัญลักษณ์ทางคอมพิวเตอร์ ในการรวบรวมองค์ความรู้เดิม อย่างเป็นระบบ เพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่น (ผู้รับสาร) เข้าใจในความคิดใหม่ของตน ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์   ( ตามทฤษฎีการถ่ายทอดความรู้
 ของผู้เรียนผ่านคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษาโลโก และอุปกรณ์ Lego ของศาตราจารย์แซมมวล แพบเพิร์ท แห่ง MIT)
                  1.1.5 ทักษะในการใช้อารมณ์ ( Used Emotion Skill )   อารมณ์เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการสื่อสาร  (สู่ดิน ชาวหินฟ้า: 2548) ความฉลาดทางอารมณ์  (Emotional Quotient )   หมายถึง การควบคุมความต้องการส่วนเกินของตน  ทางตา  หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส และใจ มิให้รบกวนการรับรู้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจเป็น
ผู้ส่งสาร  หรือผู้รับสารทักษะต่างๆ เหล่านี้ จะมีผลต่อความสามารถในการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ (Purposes) และเจตนารมณ์ (Intention ) ของตนในการสื่อสาร ทั้งฝ่ายส่งสารและฝ่ายรับสาร และมีอิทธิพลต่อความสามารถในการเข้ารหัส หรือการผลิตสารในรูปแบบต่าง ๆ
             
1.2 ทัศนคติ ( Attitude ) เกิดจากการรู้จักควบคุมอารมณ์ของตน ในการแสดงปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการรับรู้ของฝ่ายตรงข้าม นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่จะเพิ่มหรือลดประสิทธิผลของการสื่อสาร ดังนั้น อารมณ์และทัศนคติเป็นปัจจัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ    ทัศนคติที่ดี ย่อมเกิดจากการมีอารมณ์ในเชิงบวก   ( ยินดี   พอใจ   ที่ได้ "เสียเปรียบ" หรือ "เสียสละ") ส่วนทัศนคติที่ไม่ดี เช่น การคิดเอาเปรียบผู้อื่น หรือการคิดเบียดเบียนผู้อื่น เกิดจากการมีอารมณ์ในเชิงลบ (ยินดี พอใจ ที่ "ได้เปรียบ")
                 1.2.1 ทัศนคติต่อตนเอง (Attitude toward self:  self-evaluation, self-confidence)    เป็นเรื่องของการควบคุมอารมณ์มิให้เป็นทาสของอารมณ์ โลภ โกรธ หลง เห็นประโยชน์ คุณค่าของการอยู่เหนืออารมณ์เชิงลบ   ทัศนคติเช่นนี้ จะก่อให้เกิดความยินดี พอใจ ยอมรับ และเข้าใจในสารต่างๆ และพร้อมที่จะเลือกเสพ หรือส่งสารที่เป็นสาระ หรือเป็นคุณค่าแก่ชีวิต และสรรพสิ่งแวดล้อม
                 1.2.2 ทัศนคติต่อเรื่องที่จะสื่อสาร (Attitude toward subject matter) เป็นผลต่อเนื่องจาก ข้อ 1.2.1 เพราะถ้าควบคุม หรืออยู่เหนืออารมณ์เชิงลบได้มากเท่าใดก็จะส่งผลให้เกิดการเลือกสรรที่จะเสพ (รับสาร) หรือส่งสาร ไปยังเป้าหมาย
                1.2.3 ทัศนคติต่อผู้รับสาร (Attitude toward receiver) เป็นผลต่อเนื่องมาจาก ข้อ 1.2.1 เช่นกัน เพราะคนทุกคนมักจะคิด หรือ ยึดถือ ตน" เป็นศูนย์กลางของจักรวาล (ถ้าทำได้) หากไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ให้อยู่เหนืออำนาจใฝ่ต่ำของตน ย่อมจะส่งผลต่อพฤติกรรมในการรับรู้สารและการส่งสาร ซึ่งอาจทำให้การสื่อสารล้มเหลว ที่เป็นเช่นนี้มิใช่สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง แต่เกิดจากการมุ่งเอาชนะกัน หรือข่มกัน จนไม่สามารถยอมรับสื่อ และสาระของฝ่ายตรงข้าม
 (แม้จะดี ถูกต้องตามสัจจะ แต่ก็ไม่ดี หรือผิดจากความเห็นของตน )
            1.3 ความรู้ ( Knowledge ) ผู้ส่งสารที่มีความรู้ดี ย่อมสื่อสารได้ดีมีประสิทธิผลมากกว่า ความรู้ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ    
                1.3.1 ความรู้ในเรื่องที่จะสื่อสาร (Subject matter) ได้แก่ องค์ความรู้ที่เกิดจากเรียนรู้ และการค้นคว้า รวมทั้งการจัดหมวดหมู่ของเรื่องราว พร้อมที่จะส่ง (Knowledge Package) ไปยังเป้าหมาย
               1.3.2  ความรู้เรื่องกระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
               1.3.3  ความรู้เรื่องเครื่องมือที่จะใช้สื่อสาร (เช่นเดียวกับข้อ 1.1.4 ทักษะในการใช้เครื่องมือสื่อสาร) โดยเฉพาะในเรื่องของ IT และ World Wide Web หรือ Internet ซึ่งปัจจุบันถือเป็นความรู้พื้นฐานที่คนในสังคมควรต้องรู้ หากต้องการจะอยู่ในสังคมไอทีอย่างผาสุก
               1.3.4 ความรู้เรื่องอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์ (
Used Emotion Knowledge) ( สู่ดิน ชาวหินฟ้า: 2548  )   ซึ่งจัดเป็นความรู้ในระดับโลกุตระ (   หรือ ความรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ) เพราะมีหลายกรณี ที่ความรู้ดีๆ และมีสาระ มีคุณค่า ถูกส่งออกไปยังเป้าหมาย แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง เพราะทั้งผู้ส่งสาร และหรือผู้รับสาร ถูกครอบงำด้วยอำนาจใฝ่ต่ำทางอารมณ์ ( กิเลส ตัณหา อุปาทาน) ทำให้เกิดการเสพ และ ส่ง สาระ (Mass) หรือองค์ความรู้ (โลกียะ) ที่เป็นโทษภัยต่อคน สัตว์ สรรพสิ่งแวดล้อม ตลอดจน วัฒนธรรมอันดีงาม เช่น การรับรู้ การเรียนรู้ และการยอมรับสื่อลามกต่าง ๆ
           1
.4 สถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรม (Position with in Social-Culture System) ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่ง บทบาท หน้าที่ ศักดิ์ทางสังคม ความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา ความเชื่อถือ ความเชื่อมั่น ตลอดจนค่านิยมต่างๆ ในสังคม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลให้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเข้าสู่กระบวนการสื่อสาร การสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงาม จะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ย่อมต้องอาศัย คุณสมบัติ ความเชื่อถือ    และพฤติกรรมของถ่ายทอดวัฒนธรรม และผู้รับวัฒนธรรม เช่น ตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอน, ร้อยรู้ไม่สู้หนึ่งทำ, สามัคคี คือพลังพังโลก สามัคคีธรรม คือ พลังสร้างโลก เป็นต้น
       
2.ปัจจัยของสาร ที่มีส่วนในการกำหนดประสิทธิภาพของสาร และส่งผลต่อประสิทธิผลของการสื่อสาร มีอยู่ 3 ประการ คือ
            
2.1 รหัสสาร (Message code) การเข้ารหัสและการถอดรหัส  ต้องมีความเข้าใจกันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร สัญลักษณ์ของรหัสขึ้นอยู่กับตัวสาร ตลอดจนเทคนิคในการเข้ารหัส

และการถอดรหัส หากใช้อย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดความเที่ยงตรง รวดเร็ว ครบถ้วน และมีพลัง
              2.2
เนื้อสาร (Message content) มีปัจจัยที่นำมาพิจารณาประกอบ คือ
                 2.2.1 ประเภทของสาร แบ่งออกเป็น
                    - ข่าวสาร
(NEWS)
                    - การประชาสัมพันธ์ (
Public Relations)
                    - การโฆษณา
(Advertising)
                    -
การรณรงค์ (Strategic Campaign)
                    -
การจัดวาระสาร (Agenda Setting)
                2.2.2 วัตถุประสงค์ในการกำหนดเนื้อสาร
ดูจากประเภทของสารว่า   เป็นสารประเภทใด ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกัน    เช่น การจัดสถานการณ์รณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงาน
ก็ควรใช้วิธีการโฆษณา    และการณรงค์ ผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ เพื่อโน้มน้าวใจ จะได้ผลดีที่สุดกลุ่มเป้าหมาย  คือ  คนเมือง เนื้อสารก็ต้องสร้างให้คนเมืองอ่าน มิใช่คนชนบทอ่าน วัตถุประสงค์แบ่งออกเป็น
                    - ให้ข้อมูล ความรู้ทั่วไป
                   - การศึกษา เรียนรู้
                   - ความบันเทิง
                   - การโน้มน้าวใจ
                   - การแสดงความคิด หรือประชามติ
                   - การตรวจสอบอำนาจรัฐ
                
2.3 การจัดสาร (Message treatment) หมายถึงการจัดลำดับสารในการ นำเสนอสาร หรือ ส่งสารไปยังกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้รับสาร โดยใช้กลยุทธ์การจัดลำดับสาร (Message Organization ของ Monroe: 1945) Attention > Need > Satisfaction > Visualization > Action
            
3. ปัจจัยของสื่อ ในที่นี้ หมายถึงช่องทางในการส่งสาร หรือพาหนะที่จะพาสาร (Message) ไป   ยังเป้าหมาย และบรรลุวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร  สื่อ แบ่งออกเป็น 7 ประเภท (สู่ดิน ชาวหินฟ้า: 2544) คือ (1) สื่อบุคคล  (2) สื่อวัตถุ (3) สื่อกิจกรรม พิธีกรรม (4) สื่อเอกสาร สิ่งพิมพ์ (รวมถึงสื่อสารมวลชน ประเภทเอกสาร สิ่งพิมพ์) ได้แก่ สื่อที่ใช้เขียน และ อ่าน

 มีการเข้ารหัสและถอดรหัสอย่างถูกวิธี จึงจะสื่อความหมายได้ถูกต้อง เกิดประสิทธิภาพ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์  (5) สื่อมัลติมีเดีย หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อไอที (6) สื่อโทรคมนาคม (รวมถึงสื่อสารมวลชน ประเภทโทรคมนาคม) ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง (7) สื่อปราศรัย ได้แก่ การบรรยาย ปราศรัย
           
2. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร
และกระบวนการสื่อสาร   การสื่อสาร เป็นกิจกรรมร่วมกันที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หมายความว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ
             1. สภาพของการสื่อสาร (Communication Context) คือ สภาพแวดล้อมที่กระตุ้นหรือจำกัดการสื่อสารในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การสื่อสารนั้นเด่นชัดหรือคลุมเครือ
             2.
แหล่งข่าว / ผู้ส่งสาร (Source / Sender)  คือ ผู้ที่คัดเลือกสารต่างๆแล้วทำการส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยองค์กรต่างๆ และในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้รับสารเมื่อมีการติดต่อสื่อสารเกิดขึ้น
             3.
การเข้ารหัส (Encoding)  คือ กระบวนการของการแปลความคิดให้เป็นข้อความที่มีความหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ         ระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ดังนั้นผู้ส่งข่าวสารจะต้องคิดให้รอบคอบ เสียก่อนว่าควรจะสื่อสารอย่างไรผู้รับจึงจะเข้าใจ
             4.
ข่าวสาร (Message)  กระบวนการเข้ารหัสนั้นจะนำไปสู่ การพัฒนาเป็น "ข่าวสาร" โดยข่าวสารนั้นจะประกอบไปด้วยสารสนเทศหรือความหมายที่แหล่งข่าวต้องการที่จะส่ง
              5. ช่องทางของการสื่อสาร (Communication Channel) หรือสื่อ (Medium)   คือ สื่อกลางหรือวิธีการที่ใช้นำข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์ ภาพยนตร์ นิตยสาร จดหมาย เป็นต้น
              6.
การถอดรหัส (Decoding)  คือ กระบวนการของผู้รับในการแปลความข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย  ที่ผู้รับข่าวสาร สามารถนำไปใช้ได้ โดยการถอดรหัสนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การรับรู้ ทัศนคติ และค่านิยม   ของผู้รับสาร นอกจากนี้สภาพแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรม สังคม บทบาท และฐานะก็ยังเป็นอีกตัวหนึ่งที่มามีอิทธิพลต่อการถอดรหัส
              7.
ผู้รับสาร (Receiver) หรือจุดหมายปลายทาง (Destination)คือ บุคคลที่ผู้ส่งข่าวสาร ต้องการให้ได้รับข่าว อาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ผู้รับสารต้อง มีความ สามารถในการฟังให้เข้าใจ อ่านให้รู้เรื่อง และคิดให้เป็นจึงจะสามารถรับข่าวสารและแปลความหมายของข่าวสารได้
             8.
สิ่งรบกวน (Noise) คือ สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีผลกระทบต่อความมีประสิทธิผลของการสื่อสาร เช่น เสียงรถวิ่งไปมา ความแตกต่างด้านวัฒนธรรม การออกเสียงไม่ชัดเจน เป็นต้น
              9.
การตอบสนอง (Response) คือ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสารหลังจากที่ได้รับข่าวสาร
            10.
ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)เป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนอง คือการสื่อสารกลับไปยังผู้ส่งสาร ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการ    ประเมินประสิทธิผลของข่าวสารที่ส่งไป ที่จะบอกให้ผู้ส่งสารทราบว่าสารที่ผู้ส่งส่งไปนั้นเป็นที่เข้าใจของผู้รับมากน้อยเพียงใด
        องค์ประกอบของการสื่อสาร   คือ  การติดต่อกันระหว่างมนุษย์ เพื่อทำให้รับรู้เรื่องราว   อันมีความหมายร่วมกัน และเกิดการตอบสนองต่อกัน  นักทฤษฏี การสื่อสารมีความเห็นตรงกันว่า วิถีทางสำคัญที่สุด     ที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถควบคุมการสื่อสารที่ตนเกี่ยวข้องอยู่ให้บรรลุเป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือ การกระทำความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงเสียก่อน
           องค์ประกอบของการสื่อสารคืออะไร    เมื่อเข้าใจแล้วก็จะเล็งเห็นได้ว่ามีจุดใดบ้าง  ในองค์ประกอบนั้น ที่จะต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ      เพื่อที่จะได้เป็นปัจจัยให้การสื่อสารบรรลุ
ผลตามเป้าหมาย และมีจุดใดบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้การสื่อสารล้มเหลวได้
            โดยอาศัยแนวความคิดของ ลาสเวลล์  ได้แก่ 
                      - ผู้ส่งสาร
- ผู้รับสาร
                      - สาร
                      - สื่อหรือทางติดต่อ
                      -  ผลที่เกิดขึ้น

              องค์ประกอบของการสื่อสารนั้นมีส่วนที่จำเป็นต้องพิจารณาให้เข้าใจ คือ

                                                                1 ใคร
                           
2 กล่าวอะไร                   who
                              Says What                             
                                                                               5
ด้วยผลอะไร
                                                                            
   With what effect

                           3
ในทางติดต่อทางใด           4 แก่ใคร
                            
In what channel              To whom




        ภาพจาก หลักการใช้ภาษาไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน้า ๒๐๑

   สรุป  การวิเคราะห์ถือเป็นสิ่งสำคัญของการเป็นนักวิทยากร คือ ระยะก่อนพูด  ระยะกำลังพูด และ หลังพูด    ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ทำผู้พูดสามารถทราบได้ว่า ผู้ฟังมีความรู้ในเนื้อหามากน้อยเพียงใด     เข้าใจ เนื้อหาเพียงใด หลังจากเข้ารับการอบรมหรือฟังไปแล้วมีความเข้าใจ เนื้อหาเพียงใดสนใจในเนื้อหาที่นำเสนอมากน้อยแค่ไหน ในการส่งสาร จะต้องกำหนด เวลา เพื่อให้ผู้รับสาร มีโอกาสในการรับ เวลา หมายถึง จำนวนเวลา (วินาที, นาที, ชั่วโมง) และระยะเวลา (Time หรือ ครั้ง) โอกาส หมายถึง ช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดีที่ผู้รับสาร สามารถรับรู้ถึงสาร การสื่อสารจะสำเร็จสมบูรณ์ ต่อเมื่อผู้ส่งสารรับทราบถึงปฏิกิริยาของผู้รับสาร หลังจากรับสารนั้นแล้ว
    การสื่อสารจะมีคุณค่า ก็ต่อเมื่อ ผู้รับสารเกิดการรับรู้ (Awareness) เกิดองค์ความรู้ (Knowledge) เกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่น จนยอมรับข้อเสนอหรือเงื่อนไขในสารนั้น (Acceptation)
หรือเกิดการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (Decision) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior)