วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
           ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 (มาตรา 74) กำหนดไว้ว่า บุคคลผูเปนขาราชการ พนักงาน ลูกจางของหนวยราชการ หนวยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจาหนาที่อื่น
ของรัฐ มีหนาที่ดําเนินการใหเปนไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชนสวนรวม อำนวยความสะดวก  และใหบริการแกประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบานเมืองที่ดี
(มาตรา 77) กำหนดไว้ว่า รัฐตองพิทักษรักษาไวซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพ
แหงเขตอํานาจรัฐ  และตองจัดใหมีกําลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ  และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจําเปน และเพียงพอ เพื่อพิทักษรักษาเอกราชธิปไตย ความมั่นคงของรัฐสถาบันพระมหากษัตริย์
ผลประโยชน
แหงชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข และ
เพื่อการพัฒนาประเทศ
โดยมีกองทัพไทยควบคู่กับการสร้างชาติไทย มีภารกิจหลักในการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เป็นรากฐานและหลักประกันค้ำจุน สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นกำลังสำคัญในการปกป้องแผ่นดินไทยให้ดำรงความเป็นชาติเอกราชตลอดไป
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยม, 2550)
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในการปรับจุดเน้นการรักษาความมั่นคงของชาติที่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับมิติความมั่นคงของประชาชน โดยวางน้ำหนักการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันของทุกภาคส่วน การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี การยอมรับให้เกียรติในคุณค่าของความเห็นที่แตกต่าง และการปกป้องวิถีชีวิตของประชาชน การแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ การเตรียมพร้อมกับ การเผชิญเหตุการณ์และภัยพิบัติที่เป็นวิกฤติของชาติการมีประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่เป็นศัตรู มีความจริงใจและไว้วางใจกัน และการสร้างดุลยภาพความสัมพันธ์ในระบบความร่วมมือระหว่างประเทศ และป้องกันการแทรกแซงแสวงประโยชน์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ  จากการปฏิรูปการเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการรวมศูนย์อำนาจการบริหาร สู่การกระจายอำนาจการบริหาร อย่างกว้างขวาง ทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาค และมีส่วนร่วม ในการเมืองทุกระดับ เป็นรัฐธรรมนูญที่มุ่งสร้างฝ่ายบริหารให้มีความเข้มแข็ง จากสภาพการณ์ข้างต้นส่งผลให้กองทัพต้องแบกรับภาระด้าน การป้องกันประเทศและการคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาติทั้งใน และนอกประเทศ ประกอบกับต้องเพิ่มบทบาทที่เกื้อกูลต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่างๆ รวมทั้งการรักษาสันติภาพตามคำร้องขอของสหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศ ในขณะที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับกองทัพ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, 2555 - 2559)
ในภารกิจการป้องกันประเทศยังไม่กว้างขวางและต่อเนื่องเท่าที่ควร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการทัพไทย เป็นหน่วยงานส่วนหนึ่งของกองบัญชาการกองทัพไทย (พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม, 2551, มาตรา 18: 40) กล่าวถึง กองบัญชาการกองทัพไทยมีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทย
ในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาการจัดระเบียบทั่วไป (พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม, 2551, มาตรา 31
: 43 )กล่าวถึง กองบัญชาการกองทัพไทยรับผิดชอบการวางแผน พัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย ให้สามารถติดต่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับรัฐบาล ระดับกระทรวง และหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม ตลอดจนการแบ่งมอบความรับผิดชอบในการดำเนินการให้กับกองทัพและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตามกฎหมายต่างๆ ของไทย และกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ได้รับมอบตามมติคณะรัฐมนตรี และนโยบายในระดับต่างๆ อีกเป็นจำนวนมากที่สำคัญคือ การเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ที่ปรับเปลี่ยนเร็วคาดการณ์ได้ยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่
11 ได้กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสม โดยเร่งสร้างภูมิคุ้มกัน
เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง และเสริมรากฐานของประเทศด้านต่าง ๆ ให้เข้มแข็งควบคู่ไปกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ และความคิดสร้างสรรค์
บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคง
และยั่งยืน (ราชกิจจานุเบกษา, 2554
: 12)
           วิสัยทัศน์ของสำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยหลักที่ได้รับ
ความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยบุคคล เอกสารและสถานที่ พร้อมทั้งจัดระเบียบการจราจร
การป้องกันอัคคีภัย  ณ ที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพไทย ด้วยขนาดกำลังรบที่สมดุล ทันสมัยภายใต้
การบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพเป็นสำคัญ ข้าราชการและพนักงานราชการ ในสังกัดเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทางทหาร และเป็นกำลังหลักในการปฏิบัติงานให้สำเร็จด้วยดีนั้น ปัจจุบันได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะ (
Competency) มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสรรหา พัฒนา และการประเมินผลงานของบุคลากรได้ตรงความต้องการขององค์กร ที่จะช่วยให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพ ซึ่งกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ตระหนักถึงความมั่นคงของมนุษย์ ที่เป็นข้าราชการ ประกอบไปด้วย นายทหารสัญญาบัตร นายทหารชั้นประทวน พนักงานราชการ และ
พลทหารกองประจำการ  จากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และเอกชนไม่ว่าจะเป็นการเปิดการค้าเสรี การปล่อยสินเชื่อให้แก่ครัวเรือน และการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่งผลให้ภาคครัวเรือนประสบกับปัญหาหนี้สินที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2554) กล่าวถึง ปริมาณการเป็นหนี้สินเฉลี่ย
68,405 บาทต่อครัวเรือนในปี 2543 เพิ่มเป็น 134,900 บาทต่อครัวเรือนในปี 2554 และ
เมื่อพิจารณาหนี้สินเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้ พบว่าในปี
2554 ครัวเรือนที่มีหนี้สินมีหนี้สินเฉลี่ย 241,760 บาท ต่อครัวเรือน โดยกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร มีหนี้สินเฉลี่ยมากกว่า
400,000 บาท และมากกว่าร้อยละ 40.00 ของหนี้สิน จาการนำไปซื้อ/เช่าซื้อบ้าน และที่ดิน
เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ โดยพิจารณาจากสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้ พบว่า ครัวเรือนมีแนวโน้มว่าสามารถชำระหนี้ได้ไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละปี ในขณะที่หนี้สินเฉลี่ย
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ

(ราชกิจจานุเบกษา, 2554: 12) การปรับ อัตราเงินเดือนของข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารและการให้ได้รับเงินเดือน (ราชกิจจานุเบกษา,
2555: 8 ) นายทหารสัญญาบัตรบรรจุคุณวุฒิปริญญาตรี และนายทหารชั้นประทวน สอบบรรจุเข้ามาจะได้รับเงินเดือนเริ่มต้นเพียง 5,680 บาท บวกค่าครองชีพเป็น 9,250 บาท พนักงานราชการ
ในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติสำหรับกลุ่มงานนั้น ต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี

ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละ 12,285 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เดือนละ 1,500 บาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้วต้องไม่เกินเดือนละ 12,285 บาท กรณีมีค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทน อีกจนถึงเดือนละ 9,000 บาท ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการใหม่ และข้าราชการที่ปรับย้ายจากเหล่าทัพก็จะยังไม่มีบ้านพักอาศัยที่เป็นของทางราชการจะต้องหาเช่าบ้านพักอาศัย ราคาที่พักตามสภาพของพื้นที่ ถ้าเป็นชุมชนที่แออัดบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ ราคาที่ประมาณ 1,500 – 2,500 บาท ต่อเดือน คอนโดหรืออาคารชุดราคาตั้งแต่ 3,500 – 6,800 บาท ต่อเดือนขึ้นไป สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งที่พัก และการเดินทางตามสภาพพื้นที่เช่นกัน เนื่องจากกองบัญชาการกองทัพไทยนั้น สถานที่ทำงานกับบ้านพักอาศัยอยู่ห่างไกล การเดินทางมาทำงานจะต้องเดินทางโดยรถยนต์ประจำทาง รถยนต์ส่วนตัว และส่วนราชการสนับสนุน จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมชุมชนคนเมืองที่ต้องการความสะดวกสบาย ต้องการมีการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย ดังนั้นการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในองค์กรให้มีความรู้ ความสามารถ และมีสมรรถนะในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในองค์กร จะต้องมีการวางแผนอย่างมีกลยุทธ์  โดยสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน ประกอบด้วย (1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีระบบ (2) การสร้างคุณค่าให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ (3) การทำให้ทรัพยากรมนุษย์หายาก และ (4) การทำให้ทรัพยากรมนุษย์เลียนแบบได้ยาก องค์ประกอบสี่ประการนี้จะช่วยในการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในองค์กร สำคัญที่จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์ได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะ และสร้างศักยภาพให้แก่ตนเองซึ่งส่งผลให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
               จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย  เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทย ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพมายิ่งขึ้นต่อไป

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2.1  เพื่อศึกษาการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย
1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทยจำแนก
ตามปัจจัยส่วนบุคคล
1.2.3 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความต้องการของมนุษย์กับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย

1.3 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

            จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทยปี 2554 (สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2554: 2) ทฤษฎีแอลเดอร์เฟอร์ (Alderfer 1969, pp. 142-175 อ้างถึงใน สิรินาตย์ กฤษฎาธาร, 2552) และทฤษฎีแมคเคิลแลนด์ (McClelland 1960, อ้างใน "สังคมบรรลุ" 1961) มาประยุกต์ใช้โดยกำหนดกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรต้น ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยความต้องการ ตัวแปรตาม การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ดังนี้
 1.4 สมมติฐานของการวิจัย
        1.4.1 ระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคล
        1.4.2 ความต้องการของมนุษย์ มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยแตกต่างกัน

1.5 ขอบเขตของการวิจัย
           การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยศึกษาการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ใน กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการ
กองทัพไทย กองพันระวังป้องกัน สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย และ กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
           1.5.1 ขอบเขต ด้านพื้นที่
                     ผู้วิจัยใช้พื้นที่หน่วยงานในสังกัด กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ  แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานขึ้นตรงสำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการ กองทัพไทย จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ กองพันระวังป้องกัน สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนนาวงศ์ประชาพัฒนา เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และกองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนกรุงเทพ -นนทบุรี เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
           1.5.2 ขอบเขต ด้านประชากร
                     ผู้วิจัยใช้ข้าราชการ และพนักงานราชการ จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย กองพันระวังป้องกัน สำนักกองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพไทย และกองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทยจำนวน 403 นาย
           1.5.3 ขอบเขต ด้านเนื้อหา
                     ผู้วิจัยศึกษาการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย ได้แก่
สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย กองพันระวังป้องกัน สำนักกองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพไทย และกองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย ประกอบด้วยตัวแปรต้น และตัวแปรตาม มีรายละเอียด ดังนี้
                     1.5.3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยความต้องการของมนุษย์ดังนี้
                              1) ปัจจัยส่วนบุคคล  7 ด้าน
                                  - อายุ
    - ขั้นยศ
    - ประสบการณ์ทำงาน
    - ระดับการศึกษา
    - รายได้
    - ภาระทางครอบครัว
    - ภาระหนี้สิน
2) ปัจจัยความต้องการของมนุษย์  6 ด้าน
                                  - ความต้องการที่จะดำรงชีวิต
                                  - ความต้องการด้านความสัมพันธ์  
                                  - ความต้องการด้านความเจริญเติบโต
                                  - ความต้องการความสำเร็จ
                                  - ความต้องการความผูกพัน
    - ความต้องการอำนาจ
                     1.5.3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ดังนี้
                              1) สุขภาพพลานามัย
2) การศึกษา
        3) การมีงานทำและรายได้
                              4) ความมั่นคงส่วนบุคคล
                              5) ครอบครัว
6) การสนับสนุนทางสังคม
                     7) ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
                              8) สิทธิและความเป็นธรรม
1.5.4  ขอบเขตด้านระยะเวลา
         การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ กรกฎาคม – ตุลาคม 2556

1.6 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
           1.6.1 ความมั่นคง หมายถึง ความแน่นหนา ความคงที่  ไม่เปลี่ยนแปลง ความคงตัว
           1.6.2 ความมั่นคงของมนุษย์ หมายถึง การได้รับการสนองตอบต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ตลอดจนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง
           1.6.3 มนุษย์ คือ สัตว์ที่มีประสาทสัมผัสเรียนรู้อะไรได้ดี และสามารถแยกแยะถึงความแตกต่าง ความเหมือน สิ่งดี และสิ่งไม่ดี สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง 
           1.6.4 ทรัพยากร หมายถึง  สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์  ส่วนพัฒนา  หมายถึง  ทำให้เจริญ (พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525)
           1.6.5 การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่มีการกระทำให้เกิดขึ้นหรือมีการวางแผนกำหนดทิศทางไว้ล่วงหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
           1.6.6 ความต้องการ หมายถึง ความอยากได้ อยากมี ที่นอกเหนือจากการดำรงชีวิตในปัจจุบัน อาจกล่าวได้เป็นกิเลสทั้งปวง
           1.6.7 กองบัญชาการกองทัพไทย หมายถึง ส่วนราชการขึ้นตรงต่อกองทัพไทยกระทรวง
กลาโหม
 ซึ่งแปรสภาพมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด
           1.6.8 สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย หมายถึง ส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองบัญชาการกองทัพไทยมีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแล รักษาความปลอดภัยภายในกองบัญชาการกองทัพไทย และเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
           1.6.9 กองพันระวังป้องกัน สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย หมายถึง
 ส่วนราชการที่ขึ้นตรงกับ สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย
           1.6.10 กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย หมายถึง ส่วนราชการที่ขึ้นตรงกับ สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย
           1.6.11 หน่วยขึ้นตรง หมายถึง หน่วยที่ขึ้นการบังคับบัญชา กับหน่วยงานนั้น ๆ

1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                              
            1.7.1 ทำให้ทราบถึงระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย
            1.7.2 สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในวางแผนพัฒนาและปรับปรุงแผนการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย
            1.7.3 ทำให้ทราบปัญหาและปัจจัยความต้องการของมนุษย์รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย