วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

           การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย”
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความต้องการของมนุษย์กับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อหาแนวทางและให้ข้อเสนอในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ของข้าราชการ และพนักงานราชการ ใน กองบัญชาการกองทัพไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการ ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน และพนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย กองพันระวังป้องกัน สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย และกองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน
200 นาย โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบระดับชั้น (stratified random sampling) โดยเลือกสุ่มตัวอย่างจากประชากรตามหน่วยงานที่สังกัด ซึ่งในแต่ละระดับชั้น จะทำการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (proportional stratified random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ด้วยวิธี Scheffe โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

5.1 สรุปผลการวิจัย
         5.1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลจากกลุ่มตัวอย่าง
                 ข้าราชการ และพนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย ทั้ง 3 หน่วยงาน
ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20
- 29 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.5 ชั้นยศ ส.ต.- จ.ส.อ. จำนวน 100 นาย
คิดเป็นร้อยละ 50 และชั้นยศ ร.ต.- พ.อ. จำนวน 84 นาย คิดเป็นร้อยละ 42.0 มีระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 89 นาย คิดเป็นร้อยละ 44.5 ระดับปริญญาตรี จำนวน
38 นาย คิดเป็นร้อยละ 19 มีรายได้ตั้งแต่ 13,600 – 25,600 บาท จำนวน 60 นาย  คิดเป็นร้อยละ 30.0รองลงมามีรายได้ 13,600- 19,600 บาท จำนวน 99 นาย คิดเป็นร้อยละ 49.5  มีภาระทางครอบครัวต้องรับผิดชอบ ต้องจ่ายค่าอาหาร จำนวน 79 นาย คิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาต้องเลี้ยงดูบุตร จำนวน 60 นาย  คิดเป็นร้อยละ 30.0 มีภาระหนี้สิน ค่าเช่าซื้อยานพาหนะ จำนวน 80 นาย คิดเป็นร้อยละ 40.0 รองลงมา เช่าซื้อบ้าน จำนวน 40 นาย คิดเป็นร้อยละ 20.0
5.1.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยความต้องการของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทย
       ข้าราชการ และพนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทยจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 หน่วยงาน มีปัจจัยความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หากพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับการปัจจัยความต้องการของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยได้ดังนี้
                   1) ความต้องการที่จะดำรงชีวิต และความต้องการด้านความสัมพันธ์ ระดับมาก
                   2) ความต้องการความผูกพัน ความต้องการอำนาจ และความต้องการด้านความเจริญเติบโต ระดับปานกลาง
5.13  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย
       ข้าราชการ พนักงานราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 3 หน่วยงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หากพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยได้ดังนี้
                 1) มีระดับการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ของมนุษย์ ระดับปานกลาง คือ ด้านความมั่นคงส่วนบุคคล ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการสนับสนุนทางสังคม
 ด้านการศึกษา ด้านการมีงานทำและรายได้ มีค่าเฉลี่ย และด้านสุขภาพพลานามัย
                 2) มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ระดับน้อย คือ ด้านสิทธิความเป็นธรรม และด้านสภาพครอบครัว มีค่าเฉลี่ย
          5.1.4 การวิเคราะห์ความความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความต้องการกับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย ทั้ง 3 หน่วยงาน มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับนัยสำคัญ .01 ในระดับปานกลาง ด้านความเจริญเติบโต และความต้องการความสำเร็จ มีความสัมพันธ์ทางลบกับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในระดับนัยสำคัญ .05 ในระดับต่ำ ด้านความต้องการที่จะดำรงชีวิตด้านความต้องการความผูกพัน และด้านความต้องการอำนาจ

5.2 อภิปรายผลการวิจัย
        จากการวิจัย เรื่องการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทย พบว่า ข้าราชการ และพนักงานราชการ ในสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 3 หน่วยงาน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสามารถอภิปรายผลการศึกษาในแต่ละด้าน ได้ดังนี้
        5.2.1 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสุขภาพอนามัยของข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ทางกองบัญชาการกองทัพไทยได้ให้ข้าราชการทุกระดับได้สร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง โดยทุกวันพุธในช่วงครึ่งวันบ่ายของทุกสัปดาห์ได้กำหนดให้เป็นวันกีฬา ด้วยภารกิจ และการเดินทางกลับที่พักต้องใช้รถยนต์โดยสารเป็นส่วนรวม จึงไม่สะดวกด้วยกลิ่นเหงื่ออาจก่อความรำคาญผู้โดยสารคนอื่นได้ จึงทำให้ข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย ไม่มีเวลาได้ออกกำลังกายเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับ รายงานการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในประเทศไทย 2554(2554: 8)  ที่ว่าประชากรมีความกังวลเรื่องการเจ็บป่วย ค่าเฉลี่ยของประเทศ มีจำนวน 37 จังหวัด โดยค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์มิติสุขภาพต่ำสุดคือ ร้อยละ 39.35 จึงมีผลต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสุขภาพอนามัยปานกลาง
        5.2.2 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านการศึกษา พบว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ข้าราชการ พนักงานราชการไม่มีเวลาในการศึกษาต่อเพราะเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการปฏิบัติงาน อีกทั้งในการศึกษาต่อยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการศึกษา ซึ่งข้าราชการ พนักงานราชการส่วนใหญ่มีรายได้น้อย จึงไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ภัทรวรรธ คงพันธุ์ (2547, หน้า 57) ที่ไม่พบว่าทหารกองประจำการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน_และสอดคล้องรายงานการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในประเทศไทย 2554 (2554:13) ที่ว่าการศึกษาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ มีจำนวน32 จังหวัด โดยค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์มิติการศึกษาต่ำสุดคือ ร้อยละ29.19 ทั้งนี้จังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์มิติการศึกษาต่ำส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดใหญ่ หรือเป็นจังหวัดที่ค่อนข้างมีโรงงานมาก มีการอพยพแรงงานสูง ทำให้มีเด็กเข้ามาเรียนมาก รวมทั้งเด็กที่มากับผู้ปกครองที่อพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ด้วย
        5.2.3 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านการมีงานทำและรายได้ ซึ่งพบว่าครอบครัวของข้าราชการ และพนักงานราชการในกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้นมาก ข้าราชการ และพนักงานราชการส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 13,600 – 19,600 บาท จึงมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัวระดับข้าราชการชั้นผู้น้อย ทำให้ครอบครัวต้องการมีรายได้เสริมโดยหาอาชีพเสริมให้กับตนเอง จึงทำให้มีระดับความมั่นคงของมนุษย์ในด้านการมีงานทำและรายได้ระดับปานกลาง ซึ่ง สอดคล้องรายงานการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในประเทศไทย 2554 (2554:14) การมีงานทำและรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมีจำนวน 37 จังหวัด โดยค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์มิติการมีงานทำและรายได้ต่ำสุดคือ ร้อยละ 28.17
        5.2.4 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านความมั่นคงส่วนบุคคล ของข้าราชการ และพนักงานราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย พบว่า มีความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของข้าราชการ
ถูกจัดสรรให้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ครอบครัว ของข้าราชการ จึงรู้จักและมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันอยู่แล้ว เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ หรือมีบุคคลแปลกหน้าเข้ามา ในบริเวณที่พักอาศัย จึงมีผู้ช่วยสังเกตทำให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และในปัจจุบันนี้กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ให้ข้าราชการสามารถเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมีการส่งเงินสมทบฌาปนกิจสงเคราะห์ทุกเดือน เมื่อมีสมาชิกเสียชีวิตลงก็จะได้รับเงินช่วยค่าจัดงานศพ จึงทำให้ข้าราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยมีการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมาก
รณรงค์การแต่งกายโดยให้มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การแต่งกาย การใส่สิ่งของเครื่องประดับ ควรเลือกให้เหมาะสมและถูกกาลเทศะ การอยู่นอกที่พักอาศัยยามวิกาล การอยู่ในสถานที่เสี่ยงภัยความปลอดภัยในทรัพย์สิน การมีระบบดูแลรักษาทรัพย์สินไม่ให้ถูกล่วงละเมิดจากกรณีใดๆ เช่นจากการโจรกรรม ฉกชิงวิ่งราว การลักทรัพย์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นสังหารริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ การมีเอกสารสิทธิ์ตามกฎหมายอย่างถูกต้อง การเก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ในที่ปลอดภัยซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีขั้นที่ 2 ของมาสโลว์ คือเมื่อคนได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว ก็มีความต้องการในขั้นต่อไปคือความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพการงาน หรือความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
        5.2.5 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านครอบครัว ของข้าราชการ พนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย อยู่ในระดับน้อย เนื่องจากที่พักอาศัยกับสถานที่ทำงานมีระยะทางที่ไกล
ทำให้ ต้องรีบออกจากที่พักแต่เช้า และกลับถึงที่พักดึก ทำให้การมีกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวมีน้อย ซึ่งครอบครอบครัวจะมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันเฉพาะวันหยุด ดังนั้นสมาชิกในครอบครัว
จึงต้องรู้ถึงบทบาทหน้าที่ทหาร และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ในการสร้างกิจกรรมสัมพันธ์ในครอบครัวและระหว่างชุมชน ตลอดจนปลูกฝั่งค่านิยม ความคิด พฤติกรรม วิถีชีวิตของบุคคลในครอบครัว นำไปสู่ความเป็นสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งได้
        5.2.6 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านการสนับสนุนทางสังคม ของข้าราชการ และพนักงานราชการในกองบัญชาการกองทัพไทยพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมจะให้การช่วยเหลือและได้รับการคุ้มครองจากสถานบริการทางสังคมได้ โดยตระหนักถึงข้อจำกัดและความรู้สึกมีคุณค่า และความสุขในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญของการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ระดับบุคคล ในการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานต่อสังคมและชุมชน
        5.2.7 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ของ
ข้าราการ และพนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย อยู่ในระดับปานกลาง พบว่าทุกคนต้องการมีสิทธิครอบครองที่อยู่อาศัยที่มีสภาพมั่นคงมีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่พอเพียง อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี และมีทางเข้า ออกที่สะดวกที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกคุณภาพชีวิตและความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจากที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานสี่ประการสำคัญ ที่พักอาศัย ทำเลที่ตั้ง การขนส่งมวลชนแหล่งสาธารณูปโภค ควรมีอยู่บริเวณใกล้กันเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการและการอำนวยความสะดวก
        5.2.8 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสิทธิและความเป็นธรรมของ ข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้าราชการ
พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยมีสิทธิและความเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้อื่น โดยกองบัญชาการกองทัพไทย ได้มีการจัดสวัสดิการให้แก่ข้าราชการชั้นผู้น้อยไว้อย่างชัดเจนทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีโอกาสในการได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกับผู้อื่นในระดับเดียวกัน และไม่มีการเลือกปฏิบัติ จึงทำให้ข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย มีการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสิทธิและความเป็นธรรมมาก
        จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของกระทรวงพัฒนาและความมั่นของมนุษย์ (ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี2554, โปแกรมการประเมินความมั่นคงของมนุษย์ส่วนบุคคล, 2554)  ผู้วิจัยเห็นว่าแนวคิดทฤษฎี ของ ครอนบาค (Cronbach, gotoknow.org, 2553)  แนวคิด ทฤษฎี ของ อัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer 1969, pp. 142-175 )และแมคเคิลแลนด์ (McClelland; 1960) ในความต้องการของมนุษย์ และรายงานการประชุมของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program-UNDP/ Human Development report, 1994) รวมเอาแนวคิด และทฤษฎีของผู้อื่น ๆ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่ามีความเหมาะสม และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยได้จริง
  
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
                 จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำผลวิจัยไปเป็นแนวทางการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์และวางแผนในการพัฒนาองค์กร ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย หรือวัฒนธรรมขององค์กร เช่นข้อมูลปัจจัยความต้องการ และปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ผู้ที่มีอายุที่ใกล้เคียงกัน คือ มีอายุตั้งแต่ 20 - 39 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 11.27 มีความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับแตกต่างกัน
                 ชั้นยศแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ข้าราชการ พนักงานราชการสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย อยู่ในที่มีสายการปฏิบัติงานใกล้เคียงกัน มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกัน จึงมีความคิดเห็นต่อระดับความมั่นคงของมนุษย์ไม่แตกต่างกันควรมีการศึกษาถึงระดับการพัฒนาของกำลังพล
       ประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน คนที่มีประสบการณ์มากทำให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ
มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่า มีระดับการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 89.0 ดังนั้นความคิดเห็นต่อ ระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับจึงแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ภัทรวรรธ คงพันธุ์ (2547, หน้า 57) ที่ไม่พบว่าทหารกองประจำการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน__
       รายได้แตกต่างกันมีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน จากการศึกษา พบว่า ข้าราชการนายทหารประทวน และนายทหารสัญญาบัตรที่มีชั้นยศต่ำมีรายได้น้อย ทำให้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน  ดังนั้นข้าราชการที่ชั้นยศต่ำ จึงมีความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ วรยุทธ แก้ววิบูลย์พันธุ์ (2547,หน้า 57) ที่พบว่า รายได้มีความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตของครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อยของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
                 ภาระทางครอบครัวแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกันจากการศึกษา พบว่ามีภาระทางครอบครัวต้องดูแลรับผิดชอบเลี้ยงดู หรือส่งเสียค่าใช้จ่ายคนในครอบครัวใกล้เคียงกัน ดังนั้นความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับจึงแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล(2544) ที่พบว่า หน้าที่รับผิดชอบและจำนวนบุคคลที่พึ่งพาในครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนายทหารชั้นประทวน การมีภาระทางครอบครัวแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน
       ภาระหนี้สินแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกันจากการศึกษา มีภาระหนี้สิน ซึ่งได้กู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ ใกล้เคียงกันเพื่อนำมาใช้ซื้อของอุปโภค บริโภค รวมถึงรถยนต์ และที่อยู่อาศัย เพื่อพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์
5.3.2 ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่จะนำผลวิจัยไปใช้
               1) เกี่ยวกับความต้องการของข้าราชการ พนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทยจากกลุ่มตัวอย่าง 3 หน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับความต้องการในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับสูง และสอดคล้องตามทฤษฎีความต้องการของ อัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer 1969, pp. 142-175 อ้างถึงใน
สิรินาตย์ กฤษฎาธาร
; 2552) ในด้านความต้องการที่จะดำรงชีวิตหรือความต้องการที่จะคงอยู่ (Existence: E) เป็นความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี เป็นความต้องการปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตความต้องการทางวัตถุเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทน สภาพการทำงาน ปัจจัยอำนวยความสะดวกในการทำงานเป็นต้นและมีความต้องการด้านความสัมพันธ์ (Relatedness: R) คือ
ความต้องการผูกพันกับผู้อื่นในการทำงาน ต้องการเป็นพวกได้รับความยอมรับ ร่วมรับรู้และแบ่งปันความรู้สึกระหว่างกันต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ต้องการเป็นเพื่อน  และ ความต้องการด้านความเจริญเติบโต
(Growth; G) เป็นความต้องการที่จะเจริญก้าวหน้าในการทำงาน สามารถทุ่มเทความรู้ ความสามารถของตนในการทำงานอย่างเต็มที่และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเพิ่มขึ้นด้วย
               2) องค์กรสามารถศึกษาวิธีการสร้างแรงจูงใจในพัฒนาวามมั่นคงของมนุษย์ใน
การทำงานเพื่อธำรงรักษาสถานภาพยอดกำลังพลไว้ โดยทำการสำรวจหรือศึกษาความต้องการของข้าราชการ พนักงานราชการ เพื่อทำการวางแผนการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โดยศึกษาลักษณะส่วนบุคคลแต่ละด้านว่ากำลังพลให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านต่าง ๆ อย่างไรบ้าง เช่น ระดับชั้นยศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน สวัสดิการ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของกำลังพลเป็นสำคัญ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีปัจจัยจูงใจและธำรงรักษาสถานสภาพยอดกำลังพลของหน่วยที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูง ให้ความสำคัญต่อปัจจัยความสัมพันธ์สูง มีความต้องการความความเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน  และความสำเร็จในชีวิต ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานที่แตกต่างกันก็มีปัจจัยความต้องการแตกต่างกันมีการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน จากการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ให้ระดับความสำคัญต่อสุขภาพพลานามัย การศึกษา รายได้  ความมั่นคงส่วนบุคคล ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูง มีการพัฒนาความมั่นคงในด้านการ
การศึกษา ด้านสภาพครอบครัว ด้านสิทธิและความเป็นธรรม ข้าราชการ และพนักงานราชการในแต่ละกลุ่มก็มีการพัฒนาแตกต่างกัน สามารถสร้างผลงานที่ดีเลิศให้กับองค์กร องค์กรต้องมีมาตรการในการดูแลรักษาสถานภาพกำลังพลไว้อย่างเหมาะสม
         5.3.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
       1) การศึกษาในครั้งนี้ได้ศึกษา ข้าราชการ ที่เป็น นายทหารประทวน นายทหาร
สัญญาบัตร และพนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 3 หน่วยงานเท่านั้น ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป จึงควรศึกษาความคิดเห็นต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ของข้าราชการ พนักงานราชการในหน่วยอื่น ๆ หรือศึกษาในกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนายทหารสัญญาบัตร เพื่อให้ทราบถึงระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ และเป็นการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง
2 กลุ่ม เพื่อนำผลการศึกษาไปสร้างแนวทางให้เกิดการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ของ ข้าราชการ พนักงานราชการกองบัญชาการกองทัพไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
       2) ควรศึกษาการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ โดยการศึกษาเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
(in - depth interview) เพื่อทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มตัวอย่าง
3) ควรมีการศึกษาตัวแปรอิสระอื่น ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ เช่น
ตัวแปรด้านการทหาร เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

           การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย”
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความต้องการของมนุษย์กับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อหาแนวทางและให้ข้อเสนอในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ของข้าราชการ และพนักงานราชการ ใน กองบัญชาการกองทัพไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการ ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน และพนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย กองพันระวังป้องกัน สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย และกองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน
200 นาย โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบระดับชั้น (stratified random sampling) โดยเลือกสุ่มตัวอย่างจากประชากรตามหน่วยงานที่สังกัด ซึ่งในแต่ละระดับชั้น จะทำการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (proportional stratified random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ด้วยวิธี Scheffe โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

5.1 สรุปผลการวิจัย
         5.1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลจากกลุ่มตัวอย่าง
                 ข้าราชการ และพนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย ทั้ง 3 หน่วยงาน
ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20
- 29 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.5 ชั้นยศ ส.ต.- จ.ส.อ. จำนวน 100 นาย
คิดเป็นร้อยละ 50 และชั้นยศ ร.ต.- พ.อ. จำนวน 84 นาย คิดเป็นร้อยละ 42.0 มีระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 89 นาย คิดเป็นร้อยละ 44.5 ระดับปริญญาตรี จำนวน
38 นาย คิดเป็นร้อยละ 19 มีรายได้ตั้งแต่ 13,600 – 25,600 บาท จำนวน 60 นาย  คิดเป็นร้อยละ 30.0รองลงมามีรายได้ 13,600- 19,600 บาท จำนวน 99 นาย คิดเป็นร้อยละ 49.5  มีภาระทางครอบครัวต้องรับผิดชอบ ต้องจ่ายค่าอาหาร จำนวน 79 นาย คิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาต้องเลี้ยงดูบุตร จำนวน 60 นาย  คิดเป็นร้อยละ 30.0 มีภาระหนี้สิน ค่าเช่าซื้อยานพาหนะ จำนวน 80 นาย คิดเป็นร้อยละ 40.0 รองลงมา เช่าซื้อบ้าน จำนวน 40 นาย คิดเป็นร้อยละ 20.0
5.1.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยความต้องการของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทย
       ข้าราชการ และพนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทยจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 หน่วยงาน มีปัจจัยความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หากพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับการปัจจัยความต้องการของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยได้ดังนี้
                   1) ความต้องการที่จะดำรงชีวิต และความต้องการด้านความสัมพันธ์ ระดับมาก
                   2) ความต้องการความผูกพัน ความต้องการอำนาจ และความต้องการด้านความเจริญเติบโต ระดับปานกลาง
5.13  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย
       ข้าราชการ พนักงานราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 3 หน่วยงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หากพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยได้ดังนี้
                 1) มีระดับการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ของมนุษย์ ระดับปานกลาง คือ ด้านความมั่นคงส่วนบุคคล ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการสนับสนุนทางสังคม
 ด้านการศึกษา ด้านการมีงานทำและรายได้ มีค่าเฉลี่ย และด้านสุขภาพพลานามัย
                 2) มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ระดับน้อย คือ ด้านสิทธิความเป็นธรรม และด้านสภาพครอบครัว มีค่าเฉลี่ย
          5.1.4 การวิเคราะห์ความความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความต้องการกับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ในกองบัญชาการกองทัพไทย ทั้ง 3 หน่วยงาน มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับนัยสำคัญ .01 ในระดับปานกลาง ด้านความเจริญเติบโต และความต้องการความสำเร็จ มีความสัมพันธ์ทางลบกับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในระดับนัยสำคัญ .05 ในระดับต่ำ ด้านความต้องการที่จะดำรงชีวิตด้านความต้องการความผูกพัน และด้านความต้องการอำนาจ

5.2 อภิปรายผลการวิจัย
        จากการวิจัย เรื่องการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทย พบว่า ข้าราชการ และพนักงานราชการ ในสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 3 หน่วยงาน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสามารถอภิปรายผลการศึกษาในแต่ละด้าน ได้ดังนี้
        5.2.1 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสุขภาพอนามัยของข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ทางกองบัญชาการกองทัพไทยได้ให้ข้าราชการทุกระดับได้สร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง โดยทุกวันพุธในช่วงครึ่งวันบ่ายของทุกสัปดาห์ได้กำหนดให้เป็นวันกีฬา ด้วยภารกิจ และการเดินทางกลับที่พักต้องใช้รถยนต์โดยสารเป็นส่วนรวม จึงไม่สะดวกด้วยกลิ่นเหงื่ออาจก่อความรำคาญผู้โดยสารคนอื่นได้ จึงทำให้ข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย ไม่มีเวลาได้ออกกำลังกายเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับ รายงานการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในประเทศไทย 2554(2554: 8)  ที่ว่าประชากรมีความกังวลเรื่องการเจ็บป่วย ค่าเฉลี่ยของประเทศ มีจำนวน 37 จังหวัด โดยค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์มิติสุขภาพต่ำสุดคือ ร้อยละ 39.35 จึงมีผลต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสุขภาพอนามัยปานกลาง
        5.2.2 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านการศึกษา พบว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ข้าราชการ พนักงานราชการไม่มีเวลาในการศึกษาต่อเพราะเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการปฏิบัติงาน อีกทั้งในการศึกษาต่อยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการศึกษา ซึ่งข้าราชการ พนักงานราชการส่วนใหญ่มีรายได้น้อย จึงไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ภัทรวรรธ คงพันธุ์ (2547, หน้า 57) ที่ไม่พบว่าทหารกองประจำการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ที่มีระดับการศึกษาแตก
ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน
_และสอดคล้อง
รายงานการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในประเทศไทย 2554 (2554:13) ที่ว่าการศึกษาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ มีจำนวน32 จังหวัด โดยค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์มิติการศึกษาต่ำสุดคือ ร้อยละ29.19 ทั้งนี้จังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์มิติการศึกษาต่ำส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดใหญ่ หรือเป็นจังหวัดที่ค่อนข้างมีโรงงานมาก มีการอพยพแรงงานสูง ทำให้มีเด็กเข้ามาเรียนมาก รวมทั้งเด็กที่มากับผู้ปกครองที่อพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ด้วย
        5.2.3 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านการมีงานทำและรายได้ ซึ่งพบว่าครอบครัวของข้าราชการ และพนักงานราชการในกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้นมาก ข้าราชการ และพนักงานราชการส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 13,600 – 19,600 บาท จึงมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัวระดับข้าราชการชั้นผู้น้อย ทำให้ครอบครัวต้องการมีรายได้เสริมโดยหาอาชีพเสริมให้กับตนเอง จึงทำให้มีระดับความมั่นคงของมนุษย์ในด้านการมีงานทำและรายได้ระดับปานกลาง ซึ่ง สอดคล้องรายงานการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ในประเทศไทย 2554 (2554:14) การมีงานทำและรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมีจำนวน 37 จังหวัด โดยค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์มิติการมีงานทำและรายได้ต่ำสุดคือ ร้อยละ 28.17
        5.2.4 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านความมั่นคงส่วนบุคคล ของข้าราชการ และพนักงานราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย พบว่า มีความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของข้าราชการ
ถูกจัดสรรให้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ครอบครัว ของข้าราชการ จึงรู้จักและมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันอยู่แล้ว เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ หรือมีบุคคลแปลกหน้าเข้ามา ในบริเวณที่พักอาศัย จึงมีผู้ช่วยสังเกตทำให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และในปัจจุบันนี้กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ให้ข้าราชการสามารถเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมีการส่งเงินสมทบฌาปนกิจสงเคราะห์ทุกเดือน เมื่อมีสมาชิกเสียชีวิตลงก็จะได้รับเงินช่วยค่าจัดงานศพ จึงทำให้ข้าราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยมีการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมาก
รณรงค์การแต่งกายโดยให้มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การแต่งกาย การใส่สิ่งของเครื่องประดับ ควรเลือกให้เหมาะสมและถูกกาลเทศะ การอยู่นอกที่พักอาศัยยามวิกาล การอยู่ในสถานที่เสี่ยงภัยความปลอดภัยในทรัพย์สิน การมีระบบดูแลรักษาทรัพย์สินไม่ให้ถูกล่วงละเมิดจากกรณีใดๆ เช่นจากการโจรกรรม ฉกชิงวิ่งราว การลักทรัพย์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นสังหารริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ การมีเอกสารสิทธิ์ตามกฎหมายอย่างถูกต้อง การเก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ในที่ปลอดภัยซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีขั้นที่ 2 ของมาสโลว์ คือเมื่อคนได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว ก็มีความต้องการในขั้นต่อไปคือความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพการงาน หรือความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
        5.2.5 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านครอบครัว ของข้าราชการ พนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย อยู่ในระดับน้อย เนื่องจากที่พักอาศัยกับสถานที่ทำงานมีระยะทางที่ไกล
ทำให้ ต้องรีบออกจากที่พักแต่เช้า และกลับถึงที่พักดึก ทำให้การมีกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวมีน้อย ซึ่งครอบครอบครัวจะมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันเฉพาะวันหยุด ดังนั้นสมาชิกในครอบครัว
จึงต้องรู้ถึงบทบาทหน้าที่ทหาร และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ในการสร้างกิจกรรมสัมพันธ์ในครอบครัวและระหว่างชุมชน ตลอดจนปลูกฝั่งค่านิยม ความคิด พฤติกรรม วิถีชีวิตของบุคคลในครอบครัว นำไปสู่ความเป็นสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งได้
        5.2.6 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านการสนับสนุนทางสังคม ของข้าราชการ และพนักงานราชการในกองบัญชาการกองทัพไทยพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมจะให้การช่วยเหลือและได้รับการคุ้มครองจากสถานบริการทางสังคมได้ โดยตระหนักถึงข้อจำกัดและความรู้สึกมีคุณค่า และความสุขในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญของการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ระดับบุคคล ในการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานต่อสังคมและชุมชน
        5.2.7 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ของ
ข้าราการ และพนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย อยู่ในระดับปานกลาง พบว่าทุกคนต้องการมีสิทธิครอบครองที่อยู่อาศัยที่มีสภาพมั่นคงมีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่พอเพียง อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี และมีทางเข้า ออกที่สะดวกที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกคุณภาพชีวิตและความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจากที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานสี่ประการสำคัญ ที่พักอาศัย ทำเลที่ตั้ง การขนส่งมวลชนแหล่งสาธารณูปโภค ควรมีอยู่บริเวณใกล้กันเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการและการอำนวยความสะดวก
        5.2.8 การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสิทธิและความเป็นธรรมของ ข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้าราชการ
พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยมีสิทธิและความเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้อื่น โดยกองบัญชาการกองทัพไทย ได้มีการจัดสวัสดิการให้แก่ข้าราชการชั้นผู้น้อยไว้อย่างชัดเจนทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีโอกาสในการได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกับผู้อื่นในระดับเดียวกัน และไม่มีการเลือกปฏิบัติ จึงทำให้ข้าราชการ พนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย มีการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสิทธิและความเป็นธรรมมาก
        จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของกระทรวงพัฒนาและความมั่นของมนุษย์ (ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี2554, โปแกรมการประเมินความมั่นคงของมนุษย์ส่วนบุคคล, 2554)  ผู้วิจัยเห็นว่าแนวคิดทฤษฎี ของ ครอนบาค (Cronbach, gotoknow.org, 2553)  แนวคิด ทฤษฎี ของ อัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer 1969, pp. 142-175 )และแมคเคิลแลนด์ (McClelland; 1960) ในความต้องการของมนุษย์ และรายงานการประชุมของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program-UNDP/ Human Development report, 1994) รวมเอาแนวคิด และทฤษฎีของผู้อื่น ๆ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่ามีความเหมาะสม และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในกองบัญชาการกองทัพไทยได้จริง



5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
                 จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำผลวิจัยไปเป็นแนวทางการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์และวางแผนในการพัฒนาองค์กร ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย หรือวัฒนธรรมขององค์กร เช่นข้อมูลปัจจัยความต้องการ และปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ผู้ที่มีอายุที่ใกล้เคียงกัน คือ มีอายุตั้งแต่ 20 - 39 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 11.27 มีความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับแตกต่างกัน
                 ชั้นยศแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ข้าราชการ พนักงานราชการสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย อยู่ในที่มีสายการปฏิบัติงานใกล้เคียงกัน มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกัน จึงมีความคิดเห็นต่อระดับความมั่นคงของมนุษย์ไม่แตกต่างกันควรมีการศึกษาถึงระดับการพัฒนาของกำลังพล
       ประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน คนที่มีประสบการณ์มากทำให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ
มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่า มีระดับการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 89.0 ดังนั้นความคิดเห็นต่อ ระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับจึงแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ภัทรวรรธ คงพันธุ์ (2547, หน้า 57) ที่ไม่พบว่าทหารกองประจำการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน__
       รายได้แตกต่างกันมีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน จากการศึกษา พบว่า ข้าราชการนายทหารประทวน และนายทหารสัญญาบัตรที่มีชั้นยศต่ำมีรายได้น้อย ทำให้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน  ดังนั้นข้าราชการที่ชั้นยศต่ำ จึงมีความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ วรยุทธ แก้ววิบูลย์พันธุ์ (2547,หน้า 57) ที่พบว่า รายได้มีความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตของครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อยของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
                 ภาระทางครอบครัวแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกันจากการศึกษา พบว่ามีภาระทางครอบครัวต้องดูแลรับผิดชอบเลี้ยงดู หรือส่งเสียค่าใช้จ่ายคนในครอบครัวใกล้เคียงกัน ดังนั้นความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับจึงแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล(2544) ที่พบว่า หน้าที่รับผิดชอบและจำนวนบุคคลที่พึ่งพาในครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนายทหารชั้นประทวน การมีภาระทางครอบครัวแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน
       ภาระหนี้สินแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกันจากการศึกษา มีภาระหนี้สิน ซึ่งได้กู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ ใกล้เคียงกันเพื่อนำมาใช้ซื้อของอุปโภค บริโภค รวมถึงรถยนต์ และที่อยู่อาศัย เพื่อพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์



5.3.2 ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่จะนำผลวิจัยไปใช้
               1) เกี่ยวกับความต้องการของข้าราชการ พนักงานราชการ ในกองบัญชาการกองทัพไทยจากกลุ่มตัวอย่าง 3 หน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับความต้องการในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับสูง และสอดคล้องตามทฤษฎีความต้องการของ อัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer 1969, pp. 142-175 อ้างถึงใน
สิรินาตย์ กฤษฎาธาร
; 2552) ในด้านความต้องการที่จะดำรงชีวิตหรือความต้องการที่จะคงอยู่ (Existence: E) เป็นความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี เป็นความต้องการปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตความต้องการทางวัตถุเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทน สภาพการทำงาน ปัจจัยอำนวยความสะดวกในการทำงานเป็นต้นและมีความต้องการด้านความสัมพันธ์ (Relatedness: R) คือ
ความต้องการผูกพันกับผู้อื่นในการทำงาน ต้องการเป็นพวกได้รับความยอมรับ ร่วมรับรู้และแบ่งปันความรู้สึกระหว่างกันต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ต้องการเป็นเพื่อน  และ ความต้องการด้านความเจริญเติบโต
(Growth; G) เป็นความต้องการที่จะเจริญก้าวหน้าในการทำงาน สามารถทุ่มเทความรู้ ความสามารถของตนในการทำงานอย่างเต็มที่และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเพิ่มขึ้นด้วย
               2) องค์กรสามารถศึกษาวิธีการสร้างแรงจูงใจในพัฒนาวามมั่นคงของมนุษย์ใน
การทำงานเพื่อธำรงรักษาสถานภาพยอดกำลังพลไว้ โดยทำการสำรวจหรือศึกษาความต้องการของข้าราชการ พนักงานราชการ เพื่อทำการวางแผนการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โดยศึกษาลักษณะส่วนบุคคลแต่ละด้านว่ากำลังพลให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านต่าง ๆ อย่างไรบ้าง เช่น ระดับชั้นยศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน สวัสดิการ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของกำลังพลเป็นสำคัญ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีปัจจัยจูงใจและธำรงรักษาสถานสภาพยอดกำลังพลของหน่วยที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูง ให้ความสำคัญต่อปัจจัยความสัมพันธ์สูง มีความต้องการความความเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน  และความสำเร็จในชีวิต ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานที่แตกต่างกันก็มีปัจจัยความต้องการแตกต่างกันมีการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน จากการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ให้ระดับความสำคัญต่อสุขภาพพลานามัย การศึกษา รายได้  ความมั่นคงส่วนบุคคล ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูง มีการพัฒนาความมั่นคงในด้านการ
การศึกษา ด้านสภาพครอบครัว ด้านสิทธิและความเป็นธรรม ข้าราชการ และพนักงานราชการในแต่ละกลุ่มก็มีการพัฒนาแตกต่างกัน สามารถสร้างผลงานที่ดีเลิศให้กับองค์กร องค์กรต้องมีมาตรการในการดูแลรักษาสถานภาพกำลังพลไว้อย่างเหมาะสม
         5.3.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
       1) การศึกษาในครั้งนี้ได้ศึกษา ข้าราชการ ที่เป็น นายทหารประทวน นายทหาร
สัญญาบัตร และพนักงานราชการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 3 หน่วยงานเท่านั้น ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป จึงควรศึกษาความคิดเห็นต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ของข้าราชการ พนักงานราชการในหน่วยอื่น ๆ หรือศึกษาในกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนายทหารสัญญาบัตร เพื่อให้ทราบถึงระดับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ และเป็นการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง
2 กลุ่ม เพื่อนำผลการศึกษาไปสร้างแนวทางให้เกิดการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ของ ข้าราชการ พนักงานราชการกองบัญชาการกองทัพไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
       2) ควรศึกษาการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ โดยการศึกษาเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
(in - depth interview) เพื่อทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มตัวอย่าง

3) ควรมีการศึกษาตัวแปรอิสระอื่น ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ เช่น
ตัวแปรด้านการทหาร เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น
__